โครงสร้าง : Adj + N.
การวางคำคุณศัพท์จะวางไว้หน้าคำนามเสมอ เพื่อทำหน้าที่ขยายคำนามที่ตามมา ยกตัวอย่างเช่น
A rose ดอกกุหลาบดอกหนึ่ง - ใส่ adj ด้านหน้าคำนามเป็น A red rose ความหมายใหม่คือ ดอกกุหลาบสีแดงดอกหนึ่ง ซึ่งสีเป็นคำบอกลักษณะชนิดหนึ่ง จึงวางตามโครงสร้างเพื่อทำหน้าที่ขยายคำนามครับ
นอกจากนั้นยังสามารถวางคำคุณศัพท์ ไว้หลัง v.to be ได้ด้วย เช่น
It is clear. clear เป็นคำคุณศัพท์แปลว่า ชัดเจน
He is handsome. เขาเป็นคนหล่อ (บอกลักษณะ)
He is tall. เขาเป็นคนสูง (บอกรูปร่าง)
*** รู้หรือไม่ว่า กริยาช่อง 3 (Past Participle) ก็สามารถทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ได้ด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่าง
We are excited. คำว่า excite ปกติเป็นคำกริยา แต่เมื่อเป็นกริยาช่อง 3 สามารถทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์
และข้อกำหนดที่คำคุณศัพท์จะวางได้อีกข้อคือ ตามหลังคำกริยาเหล่านี้ look, sound, feel, appear, turn, smell, taste
Her face turned pale. หน้าของเธอซีด
My son feels asleep. ลูกชายของฉันง่วงนอน
Vinegar tastes sour. น้ำส้มสายชูมีรสเปรี้ยว
That sounds good. นั่นเยี่ยมเลยทีเดียว
She looks nice with that hat. เธอดูดีเลยทีเดียวกับหมวกใบนั้น
วิธีการสังเกตว่าคำไหนเป็นคำคุณศัพท์
1. สังเกตจากตำแหน่งของการวางคำ อย่างที่กล่าวไว้ตอนต้นคือ หน้าคำนาม หรือหลัง v.to be เพื่อขยายลักษณะนาม
2. คำคุณศัพท์ มักจะลงท้ายด้วย -ful, -ble, -ic
-ful เช่น colorful - มีสีสัน careful - ระมัดระวัง beautiful - สวยงาม
-ble เช่น possible - เป็นไปได้ visible - มองเห็นได้ reliable - น่าเชื่อถือ
-ic เช่น acadamic - เกี่ยวกับการศึกษา
นอกจากที่กล่าวมาเบื้องต้นนี้แล้วยังมีการวางคำคุณศัพท์ซ้อนกันหลายตัวซึ่งจะแบ่งตามลำดับ หรือ เรียกว่า Order of Adjectives คลิ๊กเพื่ออ่านเพิ่มเติม>>>
ตารางการวางเรียงคำคุณศัพท์ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น